มารู้จัก เซลล์ (Cell) By Ku..Bo
เซลล์ (Cell)
วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560
ส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์
องค์ประกอบทางเคมี
เยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะประกอบด้วยโปรตีนและลิปิดเป็นสำคัญ บางครั้งอาจพบคาร์โบไฮเดรตอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะรวมอยู่กับโปรตีนในรูปของไกลโคโปรตีนหรือรวมกับลิปิดในรูปของไกลโคลิปิดก็ได้ นอกจากนั้นยังพบแร่ธาตุต่าง ๆ และเอนไซม์อีกหลายชนิด
โครงสร้างของเยื้อหุ้มเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะประกอบด้วยโปรตีนและลิปิดเป็นสำคัญทำให้เป็นที่สงสัยว่าจะสามารถลอกสารเหล่านี้ออกมาเป็นชั้น ๆ โดยที่ยังคงสภาพของเซลล์อยู่ได้หรือไม่ ดังนั้นการทดลองในระยะแรกจึงมุ่งที่จะลอกส่วนโปรตีนหรือลิปิดให้หลุดจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้วยสารเคมีต่าง ๆ พบว่าไม่สามารถที่จะลอกสารเหล่านี้ให้เป็นชั้น ๆ ได้ ทั้งนี้เพราะโปรตีนและลิปิดจะรวมเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เรียกว่าลิโปโปรตีน (lipoprotein) จึงเรียกโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ว่ายูนิตเมมเบรน (unit membrane)
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ในลักษณะนี้สามารถอธิบายโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตใดก็ตาม ในเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีลิปิดจำนวนมากก็จะพบโปรตีนแทรกอยู่ห่าง ๆ แต่ถ้าหากเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีลิปิดน้อยก็จะพบโปรตีนแทรกอยู่ใกล้กัน
หน้าที่ของเซลล์
หน้าที่ของเซลล์
เยื่อหุ้มเซลล์อาจเรียกว่า plasma membrane หรือ cytoplasmic membrane ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์เกิดเป็นรูปร่าง มีขนาดต่างๆ แลใช้แยกเซลล์แต่ละเซลล์ออกจากกัน นอกจากนี้ยังช่วยห่อหุ้มไซโตพลาสซึม และป้องกันไม่ให้ออร์แกนเนลล์ต่างๆไหลออกนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติที่ยินยอมให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกได้ โดยอัตราการซึมผ่านเข้าออกของสารแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป เรียกคุณสมบัตินี้ว่าเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane)ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารจากเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นสารประกอบพวกโปรตีนและไขมัน สารโปรตีนส่วนใหญ่อยู่รวมกับคาร์โบไฮเดรทเรียกว่า ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) นอกจากนี้ยังมีมิวโคโปรตีน (mucoprotein) เป็นส่วนประกอบ ส่วนของไขมันจะเป็นพวกฟอสฟอไลปิด (phospholipid) และคลอเรสเตอรอล (cholesterol) เป็นต้น
เยื่อหุ้มเซลล์อาจเรียกว่า plasma membrane หรือ cytoplasmic membrane ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์เกิดเป็นรูปร่าง มีขนาดต่างๆ แลใช้แยกเซลล์แต่ละเซลล์ออกจากกัน นอกจากนี้ยังช่วยห่อหุ้มไซโตพลาสซึม และป้องกันไม่ให้ออร์แกนเนลล์ต่างๆไหลออกนอกเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์มีคุณสมบัติที่ยินยอมให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกได้ โดยอัตราการซึมผ่านเข้าออกของสารแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป เรียกคุณสมบัตินี้ว่าเป็นเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane)ทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารจากเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นสารประกอบพวกโปรตีนและไขมัน สารโปรตีนส่วนใหญ่อยู่รวมกับคาร์โบไฮเดรทเรียกว่า ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) นอกจากนี้ยังมีมิวโคโปรตีน (mucoprotein) เป็นส่วนประกอบ ส่วนของไขมันจะเป็นพวกฟอสฟอไลปิด (phospholipid) และคลอเรสเตอรอล (cholesterol) เป็นต้น
1. ไซโตพลาสซึม คือส่วนของโปรโตพลาสซึมหรือของเหลวที่อยู่รอบนอกของนิวเคลียส มีลักษณะเป็นของเหลวใสประกอบด้วย ออร์แกนเนลล์ (organells) ซึ่งเป็นส่วนที่มีชีวิตของเซลล์ หลายชนิด แต่ละเซลล์อาจมีชนิดของออร์แกนเนลล์ที่แตกต่างกัน และมีส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตของเซลล์ หรือไซโตพลาสมิกอินคลูชั่นบอดี้ (cytoplasmic inclusion bodies)
ก.ออร์แกนเนลล์ เป็นส่วนประกอบที่มีชีวิตแขวนลอยในไซโตพลาสซึม ทำหน้าที่เปรียบได้กับอวัยวะต่างๆของเซลล์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับขบวนการเมตาโบลิซึมและเป็นส่วนประกอบที่ถาวรของไซโตพลาสซึม ได้แก่ ออร์แกนเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม(plasma bound organells) และไม่มีเยื่อหุ้ม (non membrane bounded organells) ออร์แกนเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของเซลล์ ได้แก่ ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) เอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัม(endoplasmic reticulum) กอลจิบอดี้ (glogi bodies)และ ไลโซโซม (lysosome) เป็นต้น ส่วนออร์แกนเนลล์ที่ไม่เยื่อหุ้มเซลล์ได้แก่ ไรโบโซม (ribosome) และเซนตริโอล (centriole) เป็นต้น
ไมโตคอนเดรีย เป็นออร์แกนเนลล์ที่มีรูปร่างกลมหรือรูปร่างเป็นรูปไข่ เป็นท่อนสั้นๆ หรือท่อนยาว มีผนังหุ้ม 2 ชั้น (double unit membrane) ภายในมีเอ็นไซม์หลายชนิด โดยเฉพาะเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์พลังงานพวก ATP เอ็นไซม์ที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์โปรตีน และไขมัน เป็นต้น เซลล์ที่มีไมโตคอนเดรียมากเป็นเซลล์ที่มีเมตาโบลิซึมสูง เช่น เซลล์ตับและไตเป็นต้น หน้าที่สำคัญของไมโตคอนเดรีย คือ แหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ ไมโตคอนเดรียเป็นออร์แกนเนลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้เนื่องจากมี DNA อยู่ภายใน เอ็นโดพลาสมิกเรติคูลัม เป็นออร์แกนเนลล์ที่มีลักษณะเป็นท่อที่มีการเชื่อมต่อประสานกัน มีเยื่อบางๆ หุ้ม 2 ชั้น ส่วนของท่อยังมีทางเชื่อมติดต่อกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสและกอลจิบอดี้ ภายในท่อมีของเหลวบรรจุอยู่เรียกว่า ไฮยาโลพลาสซึม (hyaloplasm) โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมชนิดผิวเรียบ (smooth endoplasmic reticulum,SER) และ เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมชนิดขรุขระ(rough endoplasmic reticulum,RER) เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมชนิดผิวเรียบเป็นเอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมที่ไม่มีไรโบโซมมาเกาะ ทำหน้าที่สำคัญในการลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA, ไขมัน และ สเตอรอยด์ฮอร์โมน พบมากในเซลล์ที่มีการสังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน เช่น เลย์ดิกเซลล์ (leydig’s cell) เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมชนิดผิวขรุขระเป็นเอ็นโดพลาสมิกชนิดที่มีไรโบโซมมาเกาะที่ผิวด้านนอกของท่อ พบมากในเซลล์ที่มีการสร้างและสะสมโปรตีน มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในลักษณะของสารละลาย (soluble) และนำออกจากเซลล์โดยส่งผ่านทางกอลจิบอดี้
กอลจิบอดี้ อาจเรียกว่ากอลจิคอมเพ็ลกซ์ (golgi complex) หรือ กอลจิแอพพาลาทัส(glogi apparatus) มีลักษณะเป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อแบนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทำหน้าที่สะสมสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาภายในเซลล์เช่นโปรตีน ทำให้โปรตีนที่สร้างมามีความเข้มข้นขึ้นในรูปของซีครีเทอรี่เวสซิเคิล(secretory vesicle) เกี่ยวกับการหลั่งของสารออกนอกเซลล์(exocytosis) และเกี่ยวกับการสังเคระห์คาร์โบไฮเดรทด้วยเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสารจะมีกอลจิ บอดี้ เจริญดี
ไลโซโซม เป็นออร์แกนเนลล์ที่มีรูปร่างกลม มีผนังเยื่อบุเป็นชั้นเดียว ภายในมีเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน (proteolytic enzyme) จึงทำหน้าที่ย่อยสารที่ร่างกายไม่ต้องการให้ออกภายนอกเซลล์ ไลโซโซมเป็นออร์แกนเนลล์ที่พบมากในเซลล์เม็ดเลือดขาวเช่นนิวโทรฟิล(neutrophil) และเซลล์ในระบบเรติคิวโลเอ็นโดทีเรียล (retoculoendotherial system) เช่น ตับและม้าม เอนไซม์ในไลโซโซมทำหน้าที่ในการย่อยสลายโมเลกุลของสารภายในเซลล์ ย่อยเซลล์ที่ตายแล้วหรือเซลล์ที่มีอายุมาก ย่อยสลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์ และย่อยสลายโครงสร้างต่างๆของเซลล์ในระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง ไรโบโซม เป็นออร์แกนเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปอย่างอิสระภายในไซโตพลาสซึมของเซลล์ บางส่วนเกาะอยู่ที่เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลั่ม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน และเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ ไรโบโซมที่อยู่ในไซโตพลาสซึมจะสร้างโปรตีนสำหรับใช้ภายในเซลล์ ส่วนที่เกาะกับเอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมจะสร้างโปรตีนที่ใช้ภายนอกเซลล์
เซนทริโอล เป็นออร์แกนเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีลักษณะคล้ายท่อทรงกระบอกเล็กๆ 2 กลุ่ม เรียงตัวตั้งฉากกัน มีหน้าที่ในการแบ่งเซลล์ จะพบเซนทริโอลในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัว ทำหน้าที่ในการแยกโครโมโซมออกจากกัน เซลล์บางชนิดเซนทริโอลจะเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของซีเลียหรือขน
ข.ไซโตพลาสมิกอินคลูชั่นบอดี้ (cytoplasmic inclusion bodies) หรือสารที่ไม่มีชีวิตที่เซลล์สร้างขึ้นมาและอยู่ในส่วนของไซโตพลาสซึม เช่นเม็ดแป้ง เม็ดไขมัน ของเสียที่เกิดขึ้นจากขบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์ สารสีหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปอยู่ในเซลล์
ส่วนประกอบที่อยู่ในไซโตพลาสซึมที่มีโครงสร้างและหน้าที่ต่างจากออร์แกนเนลล์คือไม่มีเยื่อหุ้มและไม่เกี่ยวกับขบวนการเมตาโบลิซึม แต่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของไซโตพลาสซึมและการเคลื่อนที่ของเซลล์ได้แก่ ไมโครทูบูล(microtubules) และ ไมโครฟิลาเมนท์(microfilaents) เป็นต้น
2.นิวเคลียส (nucleus) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเซลล์ และเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมของเซลล์เช่น DNA ซึ่งจะอยู่รวมกับโปรตีนในรูปของโครมาติน นอกจากนี้ยังมี RNA ทั้ง DNA และ RNA ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ร่วมกับไซโตพลาสซึม เซลล์ทุกชนิดจะมีนิวเคลียสยกเว้นเซลล์เม็ดเลือดแดง นิวเคลียสของเซลล์อาจมีรูปร่างต่างๆกันเช่น รูปกลม รี หรือเป็นพู(lobe) เซลล์หนึ่งๆอาจมีนิวเคลียสมากกว่า 1 อัน(multinucleate) ก็ได้เช่นเซลล์กล้ามเนื้อลาย นิวเคลียสประกอบด้วยเยื่อหุ้มนิวเคลียส โครมาตินและ นิวคลีโอลัส เป็นต้น
ก. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelop หรือ nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆมี 2 ชั้น ที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสมีรูอยู่มากมา เรียกว่านิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโตพลาสซึมกับนิวเคลียส เยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ ด้านนอกของเยื่อหุ้มนิวเคลียสจะมีช่องทางติดต่อกับเอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลั่มชนิดหยาบ เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆระหว่างนิวเคลียสและไซโตพลาสซึม
ข.โครมาติน(chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี มีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆขดไปมาเป็นร่างแห เรียกว่าร่างแหโครมาติน (chromatin network) ประกอบด้วยโปรตีนหลายชนิดเช่นโปรตีนฮีสโตน (histone) โครงสร้างพื้นฐานของโครมาติน คือนิวคลีโอโซม(nucleosome) ประกอบด้วยส่วนที่เป็นแกนคือ ฮีสโตน และมี DNA พันอยู่โดยรอบนอกจากนี้มีโปรตีนที่ไม่ใช่ฮีสโตนเป็นแหล่งสังเคราะห์สารตั้งต้นของ mRNA ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์ ส่วนของโครมาติน (chromatin) จะหดตัวสั้นลงเป็นแท่งเรียกว่าโครโมโซม (chromosome)โครโมโซมจะจำลองตัวตัวเองเป็นเส้นคู่เรียกว่าโครมาติด (chromatid) ในสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดจะมีจำนวนโครโมโซมที่ต่างกันไป สุกรมีโครโมโซม 20 คู่ โคมี 48 คู่ และแมวมี 19 คู่ โครโมโซมทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
ค. นิวคลีโอลัส(nucleus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนประกอบด้วย โปรตีน และ RNA นิวคลีโอลัสในเซลล์จะที่มีกิจกรรมสูงจะมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่สังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ RNA จะถูกนำออกจากนิวเคลียสทางรูที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อทำหน้าที่สร้างไรโบโซม
เซลล์ทุกชนิดในร่างกายสิ่งมีชีวิตจะมีการเสื่อมสลายหรือตายไปตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเซลล์ในร่างกายตลอดเวลา(cell turnover) หากการตายของเซลล์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า ขบวนการอะพ๊อพโทซีส(apoptosis) ส่วนการตายของเซลล์ที่เกิดจากการติดเชื้อ(pathogenic condition) จะเรียกว่า การนีโครซีส(necrosis) ซึ่งเกิดจากเซลล์นั้นๆไม่มีความสามารถในการสร้างพลังงาน เพื่อให้เซลล์มีชีวิตอยู่รอดได้
เซลล์ (Cell)
![]() |
เซลล์สัตว์ |
เซลล์ (Cell) มาจากคำว่า Cella ในภาษาละติน ซึ่งมีความหมายว่าห้องเล็ก ๆ
เซลล์ (Cell) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต และเซลล์ (Cell) สามารถเพิ่มจำนวน เจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ เซลล์บางชนิดเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง เซลล์อสุจิ เป็นต้น
เซลล์ (Cell) มีอยู่หลายชนิดซึ่งมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์
เซลล์ (Cell) มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ ๓ ส่วน ที่มีเหมือนกันคือเยื่อหุ้มเซล์ (Cell membrance)ไซโตพลาซึม (Cytoplsm)และนิวเคลียส (Nucleus)โดยเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrance) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ (Cell) และกั้นเซลล์ (Cell) จากสิ่งแวดล้อมภายนอก ภายในเซลล์ (Cell) มีโครงสร้างเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) ล่องลอยอยู่ในส่วนของเหลวที่เรียกว่าไซโตซอล (Cytosol) ออร์แกเนลล์เหล่านี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน มีนิวเคลียร์ (Nucleus) เป็นศูนย์ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ต่าง ๆ และการถ่ายทดลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างก็ประกอบด้วยเซลล์ (Cell) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติและแสดงความเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจนสมบูรณ์ เซลล์ (Cell) ช่วยในการสร้างและซ่อมแซม ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะ ต่าง ๆ ของร่างกาย
เซลล์ (Cell) อยู่ในร่างกายของคนเรามากมายหลายชนิด ซึงเซลล์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป เซ่น เซลล์ (Cell) ของกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจให้เดินการทำงาน และเซลล์ (Cell) ของตับอ่อน จะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน (Insulin) ที่สามารถช่วยเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
ในปี พ.ศ.2208 (ค.ศ. 1665) โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบมาใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก พบว่าเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก ประกอบด้วยช่องว่างเล็ก ๆ จำนวนมาก แล้วเรียกช่องที่ว่านี้ว่า “เซลล์ (cell)” ซึ่งเป็นเซลล์(cell)ที่ตายแล้วแต่ยังสามารถคงรูปให้อยู่ได้เพราะมีผนังเซลล์(cell wall)ซึ่งมีความแข็ง หลังจากนั้นก็ทำการค้นคว้าศึกษาในเรื่องของ เซลล์(cell)ของพืช เซลล์(cell)ของสัตว์และเซลล์(cell)ของจุลินทรีย์ต่างๆ เรื่อยมา จนในปี พ.ศ.2382 (ค.ศ. 1839) นักวิทยาศาสตร์ชื่อ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) และ แมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) (ทั้งคู่เป็นชาวเยอรมัน) ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory) ขึ้นมา
เซลล์ (Cell) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต และเซลล์ (Cell) สามารถเพิ่มจำนวน เจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ เซลล์บางชนิดเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง เซลล์อสุจิ เป็นต้น
เซลล์ (Cell) มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ ๓ ส่วน ที่มีเหมือนกันคือเยื่อหุ้มเซล์ (Cell membrance)ไซโตพลาซึม (Cytoplsm)และนิวเคลียส (Nucleus)โดยเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrance) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ (Cell) และกั้นเซลล์ (Cell) จากสิ่งแวดล้อมภายนอก ภายในเซลล์ (Cell) มีโครงสร้างเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) ล่องลอยอยู่ในส่วนของเหลวที่เรียกว่าไซโตซอล (Cytosol) ออร์แกเนลล์เหล่านี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน มีนิวเคลียร์ (Nucleus) เป็นศูนย์ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) ต่าง ๆ และการถ่ายทดลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างก็ประกอบด้วยเซลล์ (Cell) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติและแสดงความเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจนสมบูรณ์ เซลล์ (Cell) ช่วยในการสร้างและซ่อมแซม ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะ ต่าง ๆ ของร่างกาย
เซลล์ (Cell) อยู่ในร่างกายของคนเรามากมายหลายชนิด ซึงเซลล์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป เซ่น เซลล์ (Cell) ของกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจให้เดินการทำงาน และเซลล์ (Cell) ของตับอ่อน จะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน (Insulin) ที่สามารถช่วยเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
ในปี พ.ศ.2208 (ค.ศ. 1665) โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบมาใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก พบว่าเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก ประกอบด้วยช่องว่างเล็ก ๆ จำนวนมาก แล้วเรียกช่องที่ว่านี้ว่า “เซลล์ (cell)” ซึ่งเป็นเซลล์(cell)ที่ตายแล้วแต่ยังสามารถคงรูปให้อยู่ได้เพราะมีผนังเซลล์(cell wall)ซึ่งมีความแข็ง หลังจากนั้นก็ทำการค้นคว้าศึกษาในเรื่องของ เซลล์(cell)ของพืช เซลล์(cell)ของสัตว์และเซลล์(cell)ของจุลินทรีย์ต่างๆ เรื่อยมา จนในปี พ.ศ.2382 (ค.ศ. 1839) นักวิทยาศาสตร์ชื่อ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) และ แมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) (ทั้งคู่เป็นชาวเยอรมัน) ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory) ขึ้นมา
วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560
เรียนรู้เรื่องเชลล์ (Cell) By Ku..Bo
ขอต้อนรับเข้าสู่การนำเสนอความรู้เรื่องเซลล์ (Cell)
นางสาวฐิติยา หวานใจ (ครูโบว์)
จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีวิทยา
ปัจจุบันทำงาน : วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด
ตำแหน่ง : ครูพิเศษสอน วิชาวิทยาศาสตร์
การศึกษาต่อ : กำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (วิชาชีพครู)
มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
** เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นมา เพื่อการเรียนรู้ในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ไม่ได้เพื่อหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจใด ๆ ทั้งสิ้น **
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)