โครงสร้างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
ก. โพรโทพลาซึม
โพรโทพลาซึมเป็นของเหลวที่พบภายในเซลล์ประกอบด้วยออร์แกเนลล์(organelles)และอนุภาคต่างๆมากมายทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเจริญและการดำรงชีวิตของเซลล์โพรโทพลาซึมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ไซโทพลาซึมและนิวเคลียส โดยที่นิวเคลียสจะเป็นที่เก็บข้อความพันธุกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ไว้ ดังนั้นจึงสามารถควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ได้ทั้งหมด ส่วนไซโทพลาสซึมจะมีออร์เกเนลล์และอนุภาคต่าง ๆ อยู่ด้วย ซึ่งจะมีการทำงานเป็นระบบจนทำให้เซลล์สามารถดำเนินกิจกรรมได้ด้วยดี จึงกล่าวได้ว่า โพรโทพลาซึมเป็นรากฐานของชีวิต สมบัติทางชีวภาพของโพรโทพลาซึมก็คือสมบัติของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง สมบัคิของโปรโตพลาสซึม ได้แก่
1. มีออร์แกไนเซชัน (organization) กล่าวคือ ออร์แกเนลล์และโครงสร้างอื่น ๆ ในโพรโทพลาซึม จะมีการแบ่งหน้าที่กันทำงานและมีการประสานงานกันอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ
2. มีการเจริญเติบโต
3. มีเมแทบอลิซึม
4. มีความสามารถในการตอบสนองสิ่งเร้า
5. สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้
6. สามารถเคลื่อนไหวได้ ที่เรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis)
7. มีการทวีจำนวนซึ่งเกิดจากความสามารถในการสังเคราะห์ตัวเองโดยอาศัยสารต่าง ๆ ที่ได้รับจาก สภาพแวดล้อม
ข. ไซโทพลาสซึม
ไซโทพลาซึมคือ ส่วนของโพรโทพลาซึมที่อยู่นอกนิวเคลียสทั้งหมด จำแนกได้ 2 ชนิดคือ
1. เอ็กโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นส่วนไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นส่วนที่บางใส ไม่มีออร์แกเนลล์หรืออนุภาคต่าง ๆ (ถ้ามีก็น้อยมาก) ในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำบางชนิด เช่น ยูกลีนา ชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นเยื่อเพลลิเคิล (pellicle) ซึ่งมีความหนาและเหนียว เซลล์จึงคงรูปร่างอยู่ได้
2. เอนโดพสาซึม (endoplasm) เป็นส่วนไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านใน จะมีออร์แกเนลล์และอนุภาคต่าง ๆ อยู่มากมาย เป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ของเซลล์
ค. ออร์แกเนลล์
ออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์มีหลายชนิด จำแนกได้ 2 ประเภท ได้แก่
ก. ออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม ได้แก่ กอลไจแอพพาราตัส เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม ไลโซโซม ไมโครบอดี ฯลฯ
ข. ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเมมเบรนห่อหุ้ม ได้แก่ ไรโบโซม ไมโครฟิลาเมนต์ ไมโครทูบูล และเซนทริโอล
ได้ความรู้มากเลยค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับ สำหนับข้อมูล
ตอบลบเนื้อหาดีมากๆค่ะ
ตอบลบSo Good and beautiful.
ตอบลบได้ความรู้มากค่ะ
ตอบลบ